ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

การพัฒนานักเทคโนโลยีธุรกิจดิจิทัลยุคใหม่


UniversityOfPhayao
ปิดการลงทะเบียนแล้ว

เหตุผลและความจำเป็นในการจัดการศึกษา

ท่ามกลางกระแสการพัฒนานวัตกรรมทางเทคโนโลยีดิจิทัลในปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวันของมนุษย์เป็นอย่างมาก แต่หากสามารถนำนวัตกรรมทางเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ได้อย่างสร้างสรรค์และมีมูลค่าก็จะเป็นกลไกที่สำคัญในการสนับสนุนการดำเนินงานต่างๆ ขององค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล อาทิเช่น ในส่วนของภาครัฐสามารถใช้เป็นเครื่องมือในการส่งเสริมการทำงานที่เป็นระบบ การเชื่อมโยงประสานทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมไปถึงการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดีขึ้น และ ในส่วนภาคเอกชนสามารถใช้เป็นเครื่องมือในการส่งเสริมการเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการต่างๆ ในธุรกิจ การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการดำเนินธุรกิจที่ตอบสนองต่อวิถีการดำเนินชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป และ การสร้างโอกาสให้กับธุรกิจใหม่ๆ เป็นต้น รัฐบาลได้เล็งเห็นความสำคัญสำหรับการพัฒนานวัตกรรมทางเทคโนโลยีดิจิทัล จึงได้กำหนด Digital Thailand และ Thailand 4.0 เพื่อรองรับการเข้ามามีบทบาทของนวัตกรรมทางเทคโนโลยีดิจิทัลให้เป็นตัวขับเคลื่อนในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม และ เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางการค้าระหว่างประเทศได้อย่างมีศักยภาพ นอกจากนี้ รัฐบาลยังได้กำหนดยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ.2560-2579) เกี่ยวกับแนวคิดการจัดการศึกษา (Conceptual Design) โดยการผลักดันการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ (S-Curve) โดยเฉพาะการพัฒนาในรูปแบบที่ 2 คือ New S-Curve ซึ่งเป็นรูปแบบในการพัฒนากำลังคนให้มีศักยภาพสูงทั้งเชิงวิชาการและวิชาชีพ เพื่อให้มีความพร้อมเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล (Workforce) ได้อย่างมืออาชีพ รวมทั้งในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564) และ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566 – 2570) ได้มีการกำหนดเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยเน้นไปที่การเรียนรู้ตลอดช่วงชีวิต (Lifelong Learning) จึงส่งผลให้การพัฒนากำลังคนในทุกกลุ่มอุตสาหกรรมและทุกช่วงวัย มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องได้เรียนรู้ และ พัฒนาทักษะต่างๆ ที่จำเป็น ขาดแคลน และ เร่งด่วน ให้มีศักยภาพและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อองค์กร ดังนั้น สถาบันอุดมศึกษาจึงจำเป็นที่จะต้องปรับรูปแบบการจัดการเรียนการสอนให้เป็นแหล่งเรียนรู้สำหรับพัฒนากำลังคนในทุกกลุ่มอุตสาหกรรมและทุกช่วงวัยด้วยรูปแบบหลักสูตรระยะสั้นและระยะยาว ปัจจุบันการเติบโตทางด้าน Digital Economy มีการคาดการณ์ว่า ในปี 2020 นี้ เศรษฐกิจดิจิทัลในภูมิภาคอาเซียนจะเติบโตมีมูลค่าเกิน 1 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ และจะเติบโตถึง 3 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2025 และคาดว่า ในปี 2020 เศรษฐกิจดิจิทัลของไทยจะเติบโตขึ้น 7% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา โดยจะมีมูลค่า 1.8 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งนับเป็นตลาดที่มีเศรษฐกิจดิจิทัลใหญ่เป็นอันดับ 2 ในภูมิภาคอาเซียนรองจากประเทศอินโดนีเซีย และคาดว่าเศรษฐกิจดิจิทัลจะเติบโตถึง 5.3 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือเติบโตขึ้นประมาณ 25% ในปี 2025 นอกจากนี้ ยังพบว่า ในปี 2020 มีผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตหน้าใหม่ ทั้งในเวียดนาม ไทย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ มาเลเซีย และอินโดนีเซีย เพิ่มขึ้นกว่า 40 ล้านราย ส่งผลให้จำนวนผู้ใช้งานโดยรวมเพิ่มเป็น 400 ล้านราย คิดเป็น 70% ของประชากรในอาเซียนที่มีทั้งหมด 600 ล้านคน ขณะที่ประเทศไทยมีผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตหน้าใหม่เพิ่มขึ้น ประมาณ 30% จากผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตทั้งหมด สะท้อนให้เห็นว่าคนไทยได้เข้าถึงอินเทอร์เน็ตมากขึ้นเรื่อยๆ แต่อย่างไรก็ตาม การพัฒนาคนในชุมชนให้ทันกับความต้องการทางด้านเศรษฐกิจดิจิทัลก็ยังไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร โดยเฉพาะจะทำอย่างไรให้คนในชุมชนสามารถพัฒนาความรู้ พัฒนาตัวเองให้สามารถสร้างรายได้ในระยะยาว จะทำอย่างไรให้ Provider ต่างๆที่เกี่ยวข้องเข้าไปร่วมสร้าง ร่วมแชร์เครื่องมือและประสบการณ์ต่างๆ และ จะทำอย่างไรให้คนในชุมชนทั้งสามวัย (วัยชรา วัยทำงาน วัยเด็ก) เกิดการเรียนรู้จนสู่การถ่ายทอดซึ่งกันและกัน และช่วยเหลือกันเพื่อพัฒนาให้ธุรกิจของตัวเองและชุมชน สามารถก้าวต่อไปได้อย่างยั่งยืน เกิดการต่อยอดเองได้ในอนาคต เพื่อให้กระบวนการพัฒนาศักยภาพของกำลังคนในทุกกลุ่มอุตสาหกรรมและทุกช่วงวัย โดยเฉพาะด้านนวัตกรรมทางเทคโนโลยีดิจิทัล ให้สอดคล้องกับสถานการณ์และนโยบายข้างต้นได้อย่างเป็นรูปธรรมและให้เกิดประโยชน์สูงสุดเพื่อการพัฒนาธุรกิจและประเทศชาติอย่างยั่งยืน คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยพะเยา ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในโครงการสร้างกำลังคนที่มีสมรรถนะเพื่อตอบโจทย์ภาคการผลิตตามนโยบายการปฏิรูปอุดมศึกษาไทย โดยการใช้กระบวนการทางการศึกษา การเพิ่มพูนความรู้ ทักษะ และ การเข้าถึงแหล่งกำลังคนในทุกกลุ่มอุตสาหกรรมและทุกช่วงวัย จึงได้พัฒนาหลักสูตรประกาศนียบัตร (Non-Degree) ในเชิงอบรมถ่ายทอด “นักเทคโนโลยีธุรกิจดิจิทัลยุคใหม่” สำหรับฝึกอบรมเพื่อใช้งานได้จริง ทั้งในส่วนของทฤษฎีและปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาศักยภาพด้านเศรษฐกิจดิจิทัล

เครือข่ายความร่วมมือในการจัดการศึกษา

  • บริษัท เนกซ์ดิจิทัล จำกัด
  • ผู้ประกอบการจังหวัดพะเยา
  • กลุ่มเกษตรกรจังหวัดพะเยา

ผู้สอน

ผู้สอนหลัก

ดร.เกวรินทร์ จันทร์ดำ

สิ่งสนับสนุนการจัดการศึกษา

  • ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง มหาวิทยาลัยพะเยา สนับสนุนสถานที่เป็นพื้นที่การเรียนรู้
  • องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดพะเยา สนับสนุนการขยายผลการเรียนรู้ไปสู่ชุมชน
  • สำนักงานเกษตรจังหวัด ปศุสัตว์จังหวัด สนับสนุนเครือข่ายเกษตรกร วิทยากรในพื้นที่

แผนและจำนวนการรับผู้เรียน

มีผู้เรียน 100 คน

คุณสมบัติของผู้เรียน

  • เกษตรกรที่ประกอบอาชีพการเลี้ยง แพะ
  • เจ้าหน้าที่กรมปศุสัตว์
  • บุคคลทั่วไปที่สนใจในอาชีพการเลี้ยงแพะ

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง (Expected Learning Outcomes)

  • ผู้เรียนสามารถอธิบาย พื้นฐาน สถานการณ์การผลิตแพะ กฎหมาย มาตรฐานฟาร์ม และออกแบบแผนการคัดเลือกและปรับปรุงพันธุ์แพะ
  • ผู้เรียนสามารถอธิบายและใช้งานเทคโนโลยีในการจัดการฟาร์มสมัยใหม่ได้
  • ผู้เรียนอธิบายและนำหลักการเกี่ยวกับการป้องกันโรคในแพะ การรักษา และการใช้ยาในพื้นได้
  • ผู้เรียนอธิบายและนำหลักการเกี่ยวกับนวัตกรรมการผลิต จัดเก็บ ถนอมอาหาร และให้อาหารแพะได้
  • ผู้เรียนสามารถอธิบายและจัดทำแผนการแปรรูป ผลิตผลิตภัณฑ์ และบรรจุภัณฑ์แพะได้