ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

การบ่มเพาะเกษตรกรสู่นักเทคโนโลยีสำหรับเกษตรอัจฉริยะแม่นยำ


UniversityOfPhayao
ปิดการลงทะเบียนแล้ว

เหตุผลและความจำเป็นในการจัดการศึกษา

เกษตรกรส่วนใหญ่มักเผชิญกับปัญหาทางด้านสภาพแวดล้อมที่ส่งผลกระทบต่อการเพาะปลูก เช่น ภัยธรรมชาติ ความไม่แน่นอนของสภาพอากาศ ความเสี่ยงจากโรคระบาดและแมลงศัตรูพืช คุณภาพและความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่เพาะปลูก เป็นต้น รวมไปจนถึงปัญหาทางด้านแรงงานที่เกษตรกรมีแนวโน้มเป็นผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นและปัญหาแรงงานข้ามชาติ นอกจากนี้ ความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น ความต้องการของผู้บริโภคต่อสินค้าออร์แกนิค และผักไฮโดรโปนิกส์ที่เพิ่มขึ้น ความต้องการตรวจสอบคุณภาพของสินค้าผ่านการตรวจสอบย้อนกลับ เป็นต้น ก็เป็นอีกปัจจัยที่ส่งผลต่อการทำการเกษตร ดังนั้น การนำเทคโนโลยีเข้ามาประยุกต์ใช้กับการเกษตรหรือที่เรียกกันว่า เกษตรอัจฉริยะ (Smart Farmers) นั้น จะทำให้เกษตรกรสามารถจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้นได้ สามารถควบคุมปริมาณและคุณภาพผลผลิตได้ตามที่ต้องการ รวมถึงลดต้นทุนการเพาะปลูกได้ เป้าหมายของหลักสูตรนี้คือการสร้างเกษตรกรอัจฉริยะที่สามารถทำการเกษตรสมัยใหม่ ด้วยการใช้เทคโนโลยีมาช่วยในการทำงาน โดยให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม ความปลอดภัยต่อผู้บริโภค และการใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่าที่สุด เพื่อทำให้ภาคการเกษตรเริ่มมีการปรับตัวโดยนำเอาเทคโนโลยีเข้ามาปรับปรุงและประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตมากขึ้น แนวคิดของการสร้างเกษตรกรอัจฉริยะในการทำการเกษตรแม่นยำสูง (Precision Agriculture หรือ Precision Farming) เป็นการทำการเกษตรให้เข้ากับสภาพพื้นที่ เน้นพื้นที่ที่ไม่ใช่พื้นที่เกษตรขนาดใหญ่ เน้นประสิทธิภาพในการเพาะปลูก ตั้งแต่การคัดเลือกเมล็ดพันธุ์จนถึงกระบวนการปลูกที่นำเอาเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการตรวจวัดทั้งเรื่องของสภาพดิน ความชื้นในดิน แร่ธาตุในดิน ความเป็นกรดด่าง สภาพปริมาณแสงธรรมชาติ รวมถึงเรื่องศัตรูพืชต่าง ๆ บางประเทศมีการควบคุมสิ่งแวดล้อมผ่านการปลูกในโรงเรือน เพื่อป้องกันศัตรูพืชและสามารถควบคุมปัจจัยต่าง ๆ ได้เข้มงวดและมีประสิทธิภาพมากขึ้น อย่างที่ได้กล่าวมาในข้างต้นนั้น การทำการเกษตรให้เข้ากับสภาพพื้นที่ เน้นประสิทธิภาพในการเพาะปลูก ตั้งแต่การคัดเลือกเมล็ดพันธุ์จนถึงกระบวนการปลูกที่นำเอาเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการตรวจวัดทั้งเรื่องของสภาพดิน ความชื้นในดิน แร่ธาตุในดิน ความเป็นกรดด่าง สภาพปริมาณแสงธรรมชาติ รวมถึงเรื่องศัตรูพืชต่าง ๆ บางประเทศมีการควบคุมสิ่งแวดล้อมผ่านการปลูกในโรงเรือน เพื่อป้องกันศัตรูพืชและสามารถควบคุมปัจจัยต่าง ๆ ได้เข้มงวดและมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อให้เกษตรกรของประเทศไทยหลุดพ้นจากกับดักรายได้ปานกลาง (Middle Income Trap) และเปลี่ยนจากการทำเกษตรที่ลงมือทำมากได้ผลตอบแทนน้อย มาสู่แบบลงมือทำน้อยได้ผลตอบแทนมาก และสอดคล้องตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างทรัพยากรมนุษย์ ประเด็นการวางพื้นฐานระบบรองรับการเรียนรู้โดยใช้ดิจิทัลแพลตฟอร์ม เนื่องจากการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมเข้ามาเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตนั้น จำเป็นต้องติดตามและควบคุมปัจจัยสำคัญให้เหมาะสมต่อการปลูกพืชหรือเลี้ยงสัตว์ ตามบริบทของฟาร์มของเกษตรกรที่แตกต่างกัน จึงจำเป็นจะต้องเสริมทักษะในการใช้งานเซ็นเซอร์แบบไร้สาย (Wireless sensor) ที่สามารถทำงานแบบเชื่อมโยงกันผ่านระบบอินเตอร์เน็ต หรืออินเตอร์เน็ตในทุกสิ่ง (Internet of Things) อีกทั้งยังจำเป็นต้องเสริมทักษะการติดตามและควบคุมระบบเซ็นเซอร์เกษตรอัจฉริยะ (Smart farming) ผ่านทางแอปพลิเคชันบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ (Mobile application) แบบออนไลน์ได้อย่างสะดวก ช่วยให้เกษตรกรสามารถประยุกต์ใช้ และต่อยอดทักษะและองค์ความรู้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการเกษตรอัจฉริยะในฟาร์มของตนเองได้ เพื่อให้กระบวนการพัฒนาคุณภาพและศักยภาพของผู้เข้ารับการอบรมให้เป็นรูปธรรมและสอดคล้องกับนโยบายดังที่ได้กล่าวมาแล้ว คณะผู้จัดทำจึงเล็งเห็นถึงความสำคัญในโครงการสร้างบัณฑิตพันธุ์ใหม่และกำลังคนที่มีสมรรถนะเพื่อตอบโจทย์ภาคการผลิตตามนโยบายการปฏิรูปอุดมศึกษาไทยโดยการใช้กระบวนการทางการศึกษา การเพิ่มพูนความรู้ ทักษะ และการเข้าถึงแหล่งผู้ประกอบการตรงจึงได้พัฒนา หลักสูตรประกาศนียบัตร (Non-degree) ในเชิงอบรมถ่ายทอด “นักเทคโนโลยีสำหรับเกษตรอัจฉริยะแม่นยำ (Smart Farmers)” สำหรับฝึกอบรมเพื่อใช้งานจริง ทั้งในส่วนของทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง ในเชิงหลักเศรษฐศาสตร์ เกษตรกรรม และวิศวกรรมที่เข้าใจง่ายและสอดคล้องตามบริบทของฟาร์มที่แตกต่างกัน และในส่วนการฝึกปฏิบัติกับอุปกรณ์จริง ได้แก่ ระบบเซ็นเซอร์อัจฉริยะ และระบบติดตามและระบบควบคุมเซ็นเซอร์บนแอปพลิเคชันบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ ที่ผ่านการวิจัยและทดสอบระบบเกษตรกรที่มีความสนใจการเกษตรอัจฉริยะ และพร้อมให้ความร่วมมือในการศึกษาดูงานแก่ผู้เข้าร่วมอบรม เพื่อส่งเสริมการถ่ายทอดความรู้แก่เกษตรกรให้เข้าถึงและใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการเกษตรนอกจากนี้ยังเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และสอบถามข้อคิดเห็น จากผู้มีประสบการณ์ใช้งานระบบฟาร์มอัจฉริยะอย่างแท้จริง

เครือข่ายความร่วมมือในการจัดการศึกษา

  • บริษัท ไอ ไทเกอร์ส จำกัด
  • บริษัท สมายล์กรีนเทคโนโลยี จำกัด
  • บริษัท โปร-เอ็นไลท์เทนเม้นท์ เทคโนโลยี เอเชีย จำกัด

ผู้สอน

ผู้สอนหลัก

ผศ. ดร. ธนา อุดมศรีไพบูลย์

เครือข่ายความร่วมมือในการจัดการศึกษา

  • บริษัท ไอ ไทเกอร์ส จำกัด
  • บริษัท สมายล์กรีนเทคโนโลยี จำกัด
  • บริษัท โปร-เอ็นไลท์เทนเม้นท์ เทคโนโลยี เอเชีย จำกัด

สิ่งสนับสนุนการจัดการศึกษา

  • อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ภาคปฏิบัติคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
  • ห้องอบรมภาคทฤษฎีและปฏิบัติคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

แผนและจำนวนการรับผู้เรียน

  • จำนวนนักศึกษาต่อรุ่น 50 คน จำนวน 2 รุ่น
  • ระยะเวลาในการจัดการศึกษา (ช่วงเวลาเริ่มต้นจนจบหลักสูตร) มิถุนายน 2565 - กันยายน 2565
  • จำนวนชั่วโมงในการดำเนินการ 60 ชั่วโมง (ทฤษฎี 28 ชั่วโมง, ปฏิบัติ 32 ชั่วโมง)
  • ระยะเวลาตลอดหลักสูตร 10 วัน

คุณสมบัติของผู้เรียน

  • ผู้ที่ทำงานแล้วและต้องการเพิ่มพูนสมรรถนะ
  • ผู้ที่ทำงานแล้วแต่ต้องการเพิ่มพูนสมรรถนะที่แตกต่างไปจากเดิม
  • ผู้สูงอายุหรือผู้ที่เกษียณแล้วต้องการจะประกอบอาชีพอื่นที่แตกต่างจากเดิม
  • นิสิต/นักศึกษาชั้นปีที่ 3 หรือผู้สำเร็จการศึกษาระดับ ปวส

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง (Expected Learning Outcomes)

  • PLO1 ผู้เรียนสามารถเลือกใช้เครื่องมือด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและอินเทอร์เน็ตออฟทิงค์ในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในแปลงเกษตรได้
  • PLO2 ผู้เรียนสามารถอธิบายลักษณะพฤติกรรมต่าง ๆ ของผลผลิตในแปลงเกษตรโดยใช้ความรู้ ความเข้าใจในชั้นเรียนไปประยุกต์ในแปลงเกษตรของตัวเองได้
  • PLO3 ผู้เรียนสามารถแก้ไขปัญหาของอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ที่ถูกติดตั้งลงไปในแปลงเกษตรของตัวเองได้
  • PLO4 ผู้เรียนสามารถออกแบบแผนในการปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ได้อย่างเป็นระบบ