ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

เกษตรกรรมยั่งยืนกับทางเลือกพืชทำเงินชนิดใหม่ของไทย


UniversityOfPhayao
ปิดการลงทะเบียนแล้ว

เหตุผลและความจำเป็นในการจัดการศึกษา

ก่อนจะมาเป็นสินค้าเกษตรยั่งยืนที่มีคุณภาพในมือเรา สินค้าเกษตรเหล่านี้ต้องผ่านกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทาน ตั้งแต่การคัดสรรปัจจัยการผลิต กระบวนการผลิต การตลาด และการบริโภค การส่งเสริมการผลิตที่ยั่งยืนในภาคเกษตรจำเป็นต้องอาศัยมาตรการทางเศรษฐศาสตร์ กฎหมาย ฯลฯ เพื่อสร้างแรงจูงใจให้กับผู้ผลิตตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทานให้เปลี่ยนมาใช้ทรัพยากรและปัจจัยการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพ ลดการปล่อยของเสียและมลพิษจากกระบวนการผลิต รวมถึงลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ระบบเกษตรกรรมยั่งยืน (Sustainable Agriculture) เป็นระบบการผลิตทางการเกษตร การแปรรูป การจัดจำหน่ายผลผลิตทางการเกษตร และรวมถึงคำนึงถึงวิถีการดำเนินชีวิตของเกษตรกรที่คำนึงและรักษาไว้ซึ่งระบบนิเวศ สภาพแวดล้อม และความหลากหลายทางชีวภาพ เพื่อก่อให้เกิดความมั่นคงและความปลอดภัยอาหาร สร้างความสมดุลความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศ อีกทั้ง ส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตของเกษตรกรและผู้บริโภค (สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย, 2565) รูปแบบการทำการเกษตรที่สามารถนำมาปฏิบัติเพื่อให้เกิดความยั่งยืนนั้น ได้แก่ เกษตรอินทรีย์ เกษตรทฤษฎีใหม่ เกษตรผสมผสาน เกษตรธรรมชาติ และวนเกษตร ซึ่งเป็นการทำการเกษตรที่นำไปสู่การพึ่งพาตนเองและการพัฒนาคุณภาพชีวิตของเกษตรกรและผู้บริโภคด้วย โดยเฉพาะการพึ่งพาตนเองในด้านปัจจัยการผลิต ตั้งแต่ การเลือกพื้นที่ปลูก การเตรียมพื้นที่ให้เหมาะสมต่อการเพาะปลูก การจัดหาหรือการผลิตวัสดุที่ให้ธาตุอาหารที่จำเป็นแก่พืช หรือวัสดุปลูกที่มีคุณภาพดี รวมถึงวัสดุที่จำเป็นต่อการป้องกันศัตรูพืชที่มีคุณภาพดีและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ในปัจจุบันมีพืชที่ได้รับความนิยมสูงขึ้นเนื่องจากเป็นพืชที่ให้ผลตอบแทนสูงและเป็นที่ต้องการของตลาด แต่ยังมีปริมาณการผลิตน้อยหรือยังจำกัดอยู่ในเกษตรกรบางกลุ่ม จึงจัดเป็นพืชทำเงิน ซึ่งถ้าหากในอนาคต พืชทำเงินเหล่านี้ยังมีความต้องการสูงจนเกิดการผลิตอย่างกว้างขวางอย่างต่อเนื่อง จากพืชทำเงินก็จะกลายเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศต่อไป ไปทำงานมีหลายชนิด ซึ่งในครั้งนี้ จะทำการจัดกลุ่มพืชทำเงินที่มีศักยภาพสูง เหมาะแก่การถ่ายทอดองค์ความรู้ให้แก่ประชาชนทั่วไปให้มีทักษะในการผลิตเพื่อให้ผู้เรียนนำไปปรับใช้ในการประกอบอาชีพและหารายได้ให้แก่ครอบครัว ได้แก่พืชทำเงินในกลุ่มสมุนไพรตามมาตรฐานทางการแพทย์ เช่น ไพล ขมิ้นชัน ฟ้าทะลายโจร พืชกัญชง-กัญชา เป็นต้นกลุ่มพืชสวยงามและไม้มงคล เช่น เสน่ห์จันทร์ มอสเตอร์รา ฟิโลเดนดรอน รวมถึงแคคตัสและพืชอวบน้ำ และกลุ่มพืชผักเพื่ออาหารสุขภาพ เช่น เมล่อน ไผ่บงหวาน เคล และผักกาดหอมอินทรีย์ เป็นต้น ซึ่งผู้เรียนในหลักสูตรนี้แล้ว ต้องสามารถผลิตวัสดุปลูกพืช วัสดุที่ให้ธาตุอาหารที่จำเป็นแก่พืช และวัสดุชีวภัณฑ์ป้องกันศัตรูพืชที่เพื่อใช้ในการผลิตพืชพืชทำเงินในกลุ่มต่างๆ ได้ รวมถึงสามารถทำการปลูกและการดูแลรักษาพืชทำเงินในกลุ่มต่างๆ ได้ ซึ่งเป็นองค์ความรู้และทักษะการผลิตพืชที่พร้อมใช้สำหรับการนำไปประกอบอาชีพหรือเพิ่มช่องทางการหารายได้เสริมให้กับครอบครัวต่อไปในอนาคตได้

เครือข่ายความร่วมมือในการจัดการศึกษา

  • ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง มหาวิทยาลัยพะเยา อ.เมือง จ.พะเยา

ผู้สอน

ผู้สอนหลัก

คณาจารย์ของหลักสูตรเกษตรศาสตร์มหาวิทยาลัยพะเยา

สิ่งสนับสนุนการจัดการศึกษา

  • บุคลากร
  • ห้องปฏิบัติการคณะเกษตรศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ
  • ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง มหาวิทยาลัยพะเยา

แผนและจำนวนการรับผู้เรียน

ปีละ 2 ครั้ง ครั้งละ 50 คน

คุณสมบัติของผู้เรียน

เป็นประชากรที่มีถิ่นฐานในพื้นที่จังหวัดพะเยา

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง (Expected Learning Outcomes)

  • PLO1 ผู้เรียนสาธิต (demonstrate) การผลิตวัสดุปลูกพืช วัสดุที่ให้ธาตุอาหารที่จำเป็นแก่พืช และวัสดุชีวภัณฑ์ป้องกันศัตรูพืชที่เพื่อใช้ในการผลิตพืชพืชทำเงินในกลุ่มต่างๆ ได้
  • PLO2 ผู้เรียนสาธิต (demonstrate) การปลูกและการดูแลรักษาพืชทำเงินในกลุ่มต่างๆ ได้